![](https://sites.google.com/site/kaanlearning/_/rsrc/1472774326516/hnwy-thi-1-prawati-laea-khwam-pen-ma-khxng-phraphuthth-sasna/1-3-phuthth-prawati/pang05.jpg?height=320&width=208)
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานะ
(เข่า)นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณีปางนี้นิยมทำเป็นประธานในพระอุโบสถ)
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้นั้น
ก่อนที่จะประทับนั่งบนบัลลังก์หญ้าคาที่โสตถิยะพราหมณ์ถวายใต้ต้นมหาโพธิ์นั้น
พระองค์ได้ทรงตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า “ตราบใดที่ยังไม่บรรลุสิ่งที่พึงบรรลุได้
ความพยายามของบุรุษด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ แม้เลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไป
เหลือแต่หนังและกระดูกตามที เราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้”
ดังนั้นจึงได้ประทับนั่งและทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิตขณะนั้นเป็นเวลาพระอาทิตย์ตกดินพญามารที่ชื่อว่าวสวัสตีที่คอยขัดขวางการทำความดีของพระโพธิสัตว์ตลอดมา
เมื่อทราบพระดำริปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ ก็เกิดหวั่นเกรงว่า
หากปล่อยให้บรรลุความสำเร็จตามปณิธานแล้ว พระองค์ก็จะพ้นจากอำนาจของตนไป
จึงได้ระดมพลเสนามารทั้งหลายมาผจญเพื่อขับไล่ด้วยวิธีที่น่ากลัวต่าง ๆ เช่น
บันดาลให้พายุพัดรุนแรง บันดาลให้ฝนตกหนัก บันดาลให้เป็นอาวุธต่าง ๆ
ระดับยิงให้ตกต้องพระองค์แต่ว่าพระองค์ได้ทรงระลึกถึงความดีที่ได้บำเพ็ญมา
เรียกว่า พระบารมี 10 ประการจึงมีพระทัยมั่นคงไม่หวาดกลัวต่ออำนาจมารที่มาแสดงด้วยวิธีการต่าง
ๆ และยิ่งกว่านั้น กลับกลายเป็นเครื่องสักการบูชาพระองค์ไปหมดสิ้น
พญามารเห็นเช่นได้ จึงกล่าวว่า บัลลังก์ที่พระองค์ประทับอยู่นั้นเป็นของตน
โดยอ้างเสนามารเป็นพยาน
พระองค์จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาชี้ลงไปที่แม่พระธรณีเป็นพยาน
เพราะได้ทรงบำเพ็ญทานต่าง ๆ เป็นทานบารมี
และในการให้ทานทุกครั้งจะต้องหลั่งน้ำทักษิโณทกลงบนพื้นธรณี
ดังนั้นพระแม่ธรณีชื่อ
วสุนธรา ปรากฏขึ้นมาบีบมวยผม บันดาลให้กระแสน้ำไหลบ่ามาอย่างแรง
ท่วมกองทับพญามารช้างคีรีเมขละซึ่งพญามารบัญชาการอยู่นั้นก็ฟุบเท้าหน้าทั้งสองลงเป็นการถวายนมัสการพระพุทธองค์กองทัพพญามารจึงพ่ายแพ้ไปในที่สุดพุทธประวัติตอนทรงมีชัยต่อพญามาร
ถือเป็นนิมิตอันประเสริฐ จึงมีผู้นำมาสร้างเป็นพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่ง
เรียกว่า “ปางมารวิชัย” (มา-ระ-วิ-ไช) หรือ “ปางผจญมาร”
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลม
เป็นกิริยาแสดงธรรม
พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นประคอง (บางแห่งพระหัตถ์ซ้ายแนบวางบนพระเพลา
หรือยกขึ้นถือชายจีวร หรือทำแบบนั่งห้อยพระบาท)
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธองค์ทรงอธิษฐานพระหฤทัยน้อมไป
เพื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็ทรงรำลึกถึงอาจารย์ของพระองค์
คืออาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ทรงทราบด้วยญาณของพระองค์ว่า
ท่านทั้งสองได้สิ้นชีพไปแล้วพระองค์จึงทรงรำลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ
ที่เคยอุปการะองค์ในขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
แต่หลังจากที่พระองค์ทรงเลิกการทำทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์จึงชวนกันทอดทิ้งพระองค์หนีไปอยู่ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงเสด็จมาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแล้ว
ตอนแรกปัญจวัคคีย์ไม่แสดงความเคารพ
จนกระทั่งพระพุทธองค์ทรงตรัสเตือนสติปัญจวัคคีย์
จึงเชื่อว่าบัดนี้พระพุทธองค์ได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา พระองค์ทรงแสดง “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”
อันเป็น “ปฐมเทศนา” โปรดปัญจวัคคีย์
จนกระทั่งโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และทรงขอบวชเป็นพระภิกษุ ชื่อว่า “พระอัญญาโกณฑัญญะ”ซึ่งถือว่าเป็นพระอริยสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนาพระพุทธจริยาที่พระพุทธองค์ทรงพระกรุณาแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ครั้งนี้
อันเป็นการประกาศความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้โลกได้รู้แจ้งชัด
ด้วยพระปรีชาญาณอันหาผู้เสมอมิได้จึงถือว่าเป็นนิมิตอันดีในการที่พระพุทธองค์จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองในโลกสืบไป
ดังนั้นจึงเป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า “ปางปฐมเทศนา”
หรือ “ปางแสดงธรรมจักร”
พระพุทธรูปปางลีลา
สรุปและวิเคราะห์การปฐมเทศนา
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น
ปลายพระบาทยังจรดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระราชดำเนิน
พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ
ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้า เป็นกิริยาเดิน
(บางรูปท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มีบางแห่งทำเป็นจีบพระองคุลีก็มี)
ประวัติความเป็นมา
เมื่อคราวเสด็จพระพุทธดำเนินลงจากดาวดึงส์เทวโลกนั้นพระพุทธองค์อยู่ในท่ามกลางเทวดาและพระพรหมห้อมล้อม
เป็นอิริยาบถที่งามนัก ถึงกับพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรยังไม่วายชื่นชมว่า“การที่พระพุทธเจ้าทรงพระสิริโสภาคอันงามปานนี้
ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่เคยเห็นเลย ไม่เคยได้ยินแม้แต่ถ้อยคำใคร ๆ
บอกเล่าพระพุทธองค์มีพระสุระเสียงอันไพเราะอย่างนี้เสด็จจากดุสิตมาสู่แผ่นดิน”พระพุทธเจ้าได้เยื้องย่างลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์ โดยบันไดแก้วมณีมัย
ท่ามกลางเทพยาดา เมื่อเสด็จมาถึงเชิงบันไดที่สังกัสสนคร
เสด็จก้าวย่างลงจากบันไดแก้วนั้น ทรงเหยียบพื้นดินแห่งเมืองสังกัสสนคร
ท่ามกลางมวลประชาชนผู้รอเฝ้ารับเสด็จกันอย่างเนืองแน่นด้วยความปิติยินดี
ในการเสด็จกลับของพระองค์พระพุทธจริยาตอนเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์
เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางลีลา”
พระพุทธรูปปางวันอาทิตย์ : ปางถวายเนตร
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศทรมานพระประยูรญาติให้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขพรรษให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศ มหาเวสสันดรชาดก ยกขึ้นเทศนา เมื่อเทศนาจบ พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยพระญาติ ก็เกิดความปีติเบิกบานแซ่ซ้องสรรเสริญจนลืมอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสวยพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้นในเช้าวันต่อมาพระพุทธองค์จึงทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จพระดำเนินไปตามท้องสนามหลวง ปรากฏแก่ประชาราษฎร จึงต่างก็ได้โอกาสชมพระบารมีและมีความปีติยินดีโดยทั่วหน้ากันพระพุทธจริยาของพระองค์ทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาศโปรดประชาชนชาวกบิลพัสดุ์ในครั้งนี้ จึงเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางอุ้มบาตร” ขึ้น และนิยมสร้างเป็นพระจำวันเกิด สำหรับคนที่เกิดวันพุธ
พระพุทธรูปปางวันพฤหัสบดี : ปางสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า
ทอดพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานทับกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในอาการสังวร
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว
พระองค์ก็เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข
(ความสุขอันเกิดจากการหลุดพ้น)อยู่ที่ต้นศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา7 วัน แล้วก็เสด็จออกจากร่มพระศรีมหาโพธิ์ ไปประทับยืนกลางแจ้งทางทิศอีสาน
(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ของต้นศรีมหาโพธิ์นั้นทรงทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์โดยไม่กะพริบพระเนตร
ด้วยพระอิริยาบถนั้นถึง 7 วัน
พระพุทธจริยาที่ทรงเพ่งจ้องพระเนตรดูต้นศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรถึง 7
วันนั้นจึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูป“ปางถวายเนตร”
ขึ้น
พระพุทธรูปปางนี้นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อเป็นที่สักการบูชาประจำวันของคนเกิดวันอาทิตย์
พระพุทธรูปปางวันจันทร์
: ปางห้ามสมุทร : ปางห้ามญาติ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถยืน
พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้ามพระพุทธรูปปางนี้มีประวัติความเป็นมา
2 นัยคือ
ประวัติความเป็นมา (ปางห้ามสมุทร)
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ทรงเสด็จเข้าไปประทับอาศัยอยู่ในสำนักของอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งเป็นหัวหน้า
ชฎิล 500 และเป็นที่นับถือเลื่อมใสของมหาชนในแคว้นมคธพระองค์ทรงทำปาฏิหาริย์นานัปการ
เพื่อคลายพยศของหัวหน้าชฎิล
จนเหล่าชฎิลเกิดความเคารพนับถือในอานุภาพของพระองค์
และในที่สุด ทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำซึ่งไหลบ่ามาจากทิศต่าง ๆ
ที่ท่วมสำนักของอุรุเวลกัสสปะ
มิให้น้ำเข้ามาในที่พระประทับพระองค์เสด็จจงกรมภายในวงล้อมของน้ำที่ท่วมเป็นกำแพงรอบด้านพวกเหล่าชฎิลต่างพายเรือมาดู
เห็นเป็นอัศจรรย์นักก็พากันสิ้นพยศ ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
โดยพระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้พระพุทธจริยาที่ทรงแสดงปาฏิหาริย์ห้ามน้ำในครั้งนี้
จึงเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางห้ามสมุทร”
ประวัติความเป็นมา (ปางห้ามญาติ)
ครั้งหนึ่ง
พระญาติฝ่ายพุทธบิดา แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ กับพระญาติฝ่ายพระพุทธมารดา
แห่งพระนครเทวทหะ ทั้งสองพระนครนี้อยู่ใกล้แม่น้ำโรหิณี ชาวนาของทั้ง 2 พระนครนี้ อาศัยน้ำจากแม่น้ำโรหิณีนี้ทำนาร่วมกันสมัยหนึ่งเมื่อฝนแล้ง
น้ำในแม่น้ำโรหิณีก็เหลือน้อย จึงเกิดการวิวาทแย่งชิงน้ำระหว่างนครทั้งสองเกิดขึ้น
ไม่สามารถระงับได้ด้วยสันติวิธี จึงคุมเกิดการประหัตประหารกัน
ลุกลามจนถึงการยกทัพเจ้าต่อสู้กันพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง
ก็ทรงพระกรุณาเสด็จไปห้ามสงครามการแย่งน้ำของพระญาติทั้งสอง
โดยแสดงโทษแห่งความพินาศย่อยยับของชีวิตมนุษย์โดยเหตุอันไม่บังควรที่ต้องมาล้มตายกันด้วยสาเหตุเพียงการแย่งน้ำเข้านาเพียงเล็กน้อย
จนพระญาติทั้งสองฝ่ายเข้าใจกันเป็นอันดี พระองค์จึงทรงเสด็จกลับ
พระพุทธจริยาที่ทรงห้ามพระญาติทั้งสองพระนครไม่ให้ต่อสู้กันนี้
จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า “ปางห้ามญาติ”
พระพุทธรูปทั้งสองปางนี้ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปบูชา
สำหรับคนที่เกิดวันจันทร์
พระพุทธรูปปางวันอังคาร
: ปางไสยาสน์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกัน
พระหัตถ์ซ้ายทาบทอดไปตามพระกาย พระกัจฉะ (รักแร้) ทับพระเขนย
พระหัตถ์ยกขึ้นประคองพระเศียรให้ตั้งขึ้น เป็นกิริยาไสยาสน์
ประวัติความเป็นมา
สมัยหนึ่ง
พระพุทธองค์เสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นมี
อสุรินทราหูอุปราช (ผู้สำเร็จราชการ) ของท้าวเวปจิตติอสูรบดินทร์
ผู้ครองอสูรพิภพได้สดับพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าจากสำนักเทพยาดาทั้งหลาย
ถึงความสมบูรณ์พร้อมของพระองค์ จึงมีความปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระองค์
แต่ก็คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์ มีพระกายเล็ก คงจะต้องก้มลงมองลำบาก
และก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร จึงไม่ยอมเข้าเฝ้า
แต่ครั้นเห็นเหล่าเทพยดาและพรหมทั้งหลายไปเฝ้าพระพุทธองค์คราวละมาก
ๆ
ก็มีความปรารถนาจะเข้าเฝ้าจึงตัดสินพระทัยเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ายังที่ประทับพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยอนาคตังญาณ
(การหยังรู้อนาคต) ว่าอสุรินทราหูจะเข้าเฝ้า
และทรงทราบความในใจด้วยก่อนที่อสูรินทราหูจะเข้าเฝ้าพระองค์ก็เสด็จประทับบรรทมบนพระแท่นที่ประทับทรงทำปาฏิหาริย์เนรมิตพระหายให้ใหญ่กว่าอสุรินทราหูหลายเท่า
ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะอสุรินทราหูเห็นเพียงผู้เดียวเท่านั้น
เมื่ออสุรินทราหูเข้าเฝ้าเห็นเข้าจึงเป็นที่อัศจรรย์ใจมากพระพุทธองค์ทรงทรมานให้อสุรินทราหูลดทิฏฐิมานะอันกระด้างลงได้
กลับมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ขอถึงพระอค์เป็นสรณะพระพุทธจริยาตอนเสด็จบรรทมสีหไสยาสน์นี้
เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางไสยาสน์”
ถือเป็นพระบูชาประจำวัน
เกิด สำหรับผู้ที่เกิดวันอังคาร
พระพุทธรูปปางวันพุธ :
ปางอุ้มบาตร
ลักษณะพระพุทธรูปพระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรวางอยู่ที่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศทรมานพระประยูรญาติให้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขพรรษให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศ มหาเวสสันดรชาดก ยกขึ้นเทศนา เมื่อเทศนาจบ พระเจ้าสุทโธทนะพร้อมด้วยพระญาติ ก็เกิดความปีติเบิกบานแซ่ซ้องสรรเสริญจนลืมอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสวยพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้นในเช้าวันต่อมาพระพุทธองค์จึงทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จพระดำเนินไปตามท้องสนามหลวง ปรากฏแก่ประชาราษฎร จึงต่างก็ได้โอกาสชมพระบารมีและมีความปีติยินดีโดยทั่วหน้ากันพระพุทธจริยาของพระองค์ทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาศโปรดประชาชนชาวกบิลพัสดุ์ในครั้งนี้ จึงเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางอุ้มบาตร” ขึ้น และนิยมสร้างเป็นพระจำวันเกิด สำหรับคนที่เกิดวันพุธ
พระพุทธรูปปางวันพุธ (กลางคืน)
: ปางป่าเลไลย์
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสองข้างลง ทอดพระบาทเล็กน้อย
พระหัตถ์ซ้าย
คว่ำวางบนพระชานุซ้าย พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุขวา เป็นกิริยาทรงรับ
มีช้างหมอบถือหม้อน้ำยื่นถวาย และมีลิงหมอบถือรังผึ้งถวายอยู่
เบื้องหน้า
ประวัติความเป็นมา
สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์มีพระประสงค์ที่จะหลีกไปอยู่ตามลำพังพระองค์เพื่อหลีกหนีจากพระภิกษุที่เกิดความบาดหมางกัน แตกความสามัคคี
ถึงแม้พระองค์จะทรงสั่งสอนก็ตาม
จึงเสด็จไปประทับอยู่อย่างสงบภายใต้ร่มไม้ภัทรสาละพฤกษ์
ในราวไพรรักขิตวันโดยผาสุกวิหารพระพุทธองค์ประทับด้วยความสงบสุข
โดยอาศัยช้างปาลิไลยก์บำรุงรักษา
ซึ่งช้างเชือกนี้เกิดความเบื่อหน่ายความวุ่นวายของบริวารเช่นกัน
จึงปลีกตัวออกมา
ตามลำพัง
ครั้นมาพบพระพุทธองค์ทรงเลื่อมใสจึงถวายตัวอุปัฏฐากคอยหาน้ำและภัตตาหารมาถวาย
และคอยพิทักษ์ความปลอดภัยของพระองค์ วันหนึ่ง พญาลิงตัวหนึ่ง
เที่ยวมาตามยอดไม้
เห็นพญาช้างปรนนิบัติพระพุทธองค์ด้วยความเคารพก็เกิดอกุศลจิตคิดที่จะเข้าไปปรนนิบัติพระพุทธเจ้าบ้างจึงนำเอารวงผึ้งน้อมเข้าไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธา
เมื่อพญาลิงเห็นพระพุทธองค์ทรงเสวยก็เกิดความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งช้างและพญาลิงจึงอุปัฏฐากพระพุทธองค์ร่วมกันฝ่ายพระภิกษุสงฆ์เมื่อเห็นพระพุทธองค์หายไป
และถูกชาวเมืองโกสัมพีต่อว่า
จึงสำนึกผิดและขอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อขอให้พระพุทธองค์อภัยโทษที่ป่ารักขิตวัน
พระพุทธองค์ทรงยกโทษให้ และทรงแสดงถึงโทษของความแตกสามัคคี
และอานิสงส์ของความสามัคคี
แล้วส่งพระภิกษุเหล่านั้นกลับเมืองโกสัมพีพระพุทธจริยาตอนช้างและลิงบำรุงอุปัฏฐากพระพุทธองค์เช่นนี้
จึงเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางป่าเลไลย์”
ขึ้น เป็นการสร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิด
สำหรับผู้ที่เกิดวันพุธตอนกลางคืน
พระพุทธรูปปางวันพฤหัสบดี : ปางสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกันบนพระเพลา คือ
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
ประวัติความเป็นมา
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงกำจัดพญามารพ่ายแพ้ไปด้วยพระบารมี
จึงได้เริ่มบำเพ็ญความเพียรต่อไปและก็ได้บรรลุญาณทั้ง 3 ตามลำดับ
คือ
1. ปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสาสุสติญาณ คือความหยั่งรู้ในชาติภพก่อน
คือ ทรงระลึกชาติได้
2. มัชฌิมยาม ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ หรือ ทิพยจักขุญาณ
สามารถเรียนรู้การเกิด การตายและการเวียนว่ายตายเกิด
3. ปัจฉิมญาณ ได้ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ
ญาณเป็นเหตุทำให้อาสวกิเลสให้หมดสิ้นไป โดยได้ตรัสรู้อริยสัจคือทุกข์
สมุทัย นิโรธ
และมรรคพุทธจริยาที่พระพุทธองค์ทรงนั่งสมาธิจนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณนี้
จึงเป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางสมาธิ”และสร้างพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด สำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี
พระพุทธรูปปางวันศุกร์ : ปางรำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง
ประวัติความเป็นมา
หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว
ประทับอยู่ตามร่มไม่อชปาลนิโครธ (ต้นไทร)
ทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ตรัสรู้แล้วนั้นว่า เป็นธรรมอันประณีต ละเอียด
สุขุมคัมภีรภาพ ยากที่บุคคลจะรู้ได้ ทำให้ท้อแท้พระทัย
ถึงกับทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ขณะนั้นท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวาระจิตของพระองค์
จึงพาเทพยดาทั้งหลายมาเฝ้าพระองค์ และกราบทูลอารธนาพระพุทธองค์
ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาถี่ถ้วนแล้ว
จึงตัดสินพระทัยที่จะสั่งสอนชาวโลก และทรงพิจารณาบุคคลในโลกนี้ เปรียบเสมือนดอกบัว
4 เหล่า ดังนี้
1. อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
เมื่อฟังธรรมแล้วสามารถเข้าใจอย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำ
2. วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณา
และปฏิบัติตามก็สามารถจะเข้าใจได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่บานเสมอน้ำ
พร้อมที่จะบานในวันถัดไป
3. เนยยะ คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย
เมื่อฟังแล้วหมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ก็สามารถรู้และเข้าใจได้
เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะเบ่งบานในวันต่อ ๆ ไป
4. ปทปรมะ คือ พวกสติปัญญาอ่อน แม้ได้ฟังธรรม ก็ไม่อาจเข้าใจความหมายและรู้ได้
เปรียบเหมือนดอกบังที่อยู่กับโคลนตม เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ
หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว
ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์
และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่ จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย
ประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป่พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรม
ที่จะแสดงโปรดพสกนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้น เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป
ที่เรียกว่า “ปางรำพึง” และเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด
สำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์
พระพุทธรูปปางวันเสาร์
: ปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสอง แบวางซ้อนกันบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาซ้อนกับ
พระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร
ประวัติความเป็นมา
ครั้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่ร่มไม้มุจลินท์
(ไม้จิก) ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์
แต่บังเอิญว่ามีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด 7 วัน
พญานาคมุจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาคได้ออกมาจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องพระเศียร
ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวต้องพระวรกายเมื่อฝนหายขาดแล้ว
พญามุจลินท์นาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระองค์ จำแลงเพศมาเป็นมาณพน้อย
ยืนถวายนมัสการพระพุทธองค์ในที่เฉพาะพระพักตร์ พระองค์จึงเปล่งวาจาว่า“ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว
รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน
คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากกำหนัด
คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลก ความนำออกเสียซึ่งอัสมิมานะ คือ
ความถือตัวตนให้หมดได้นี้ เป็นสุขอย่างยิ่ง”พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่ง
ภายในวงขนดของพญานาคมุจลินท์นาคราชนี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูป ที่เรียกว่า “ปางนาคปรก” และเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำวันเกิด
สำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงชื่อว่า ธรรมจักกัปปวัตนสูตร
เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (เห็นตามเป็นจริง)
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา
พระพุทธเจ้า ครั้นทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นโสดาบันแล้ว
จึงเปล่งอุทานว่า “อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ
โภโกณฑัญโญ” แปลว่า “โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ
โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” อันเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะได้นามว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” มานับแน่นั้น พระอัญญาโกณฑัญญะทูลขอบวชพระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา
จึงถือว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนาและมีองค์พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ในวันนั้น
ดังนั้นจึงถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ
“วันอาสาฬหบูชา”การบวช แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือเป็นการบวชที่พระพุทธเจ้าประทานแก่ผู้ทูลขอบวชด้วยพระองค์เองเป็นการอนุญาตให้มาเป็นภิกษุโดยการตรัสด้วยพระวาจา แต่จะมี 2 แบบคือ หากเป็นบุคคลธรรมดาขอบวช พระองค์ทรงตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” สำหรับแบบที่สอง เป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้แก่บุคคลผู้บรรลุธรรมพิเศษ สามารถกำจัดกิเลสได้แล้ว เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะ พระองค์ทรงตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” จะพบว่า พระองค์ทรงตัดข้อความตอนสุดท้ายออก คือ “เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสตัณหาได้แล้ว จะไม่มีความทุกข์โดยสิ้นเชิงธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีใจความสรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไม่ให้บรรพชิต ประพฤติสุดโต่ง 2 อย่างคือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข ซึ่งเป็นทางที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้
2. อัตติลมถานุโยค คือ การทรมานร่างกายตัวเองอย่างลำบาก ซึ่งเป็นทางที่ไม่สามารถพ้นทุกข์ไปได้ ดังเช่นพระพุทธองค์ได้ทรง
บำเพ็ญทุกรกิริยา ไม่สามารถค้นพบความจริงได้หนทางที่ที่จะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ได้แก่ การดำเนินการตามทางสายกลาง คือ “มัชฌิมปฏิปทา” หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุนิพพานไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งประกอบด้วย ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งใจมั่นชอบ เป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด การปฏิบัติตามทางสายกลางในวิถีชีวิตของชุมชน ก็เริ่มจากทำความเข้าใจความสำเร็จให้ชัดเจนว่าคืออะไร มีขอบเขตแค่ไหน แล้วคิดหาทางไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร เมื่อพบทางแล้ว ก็ประคับประคองความคิดนั้นให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่ไม่เคร่งเครียดจนกร้าว และปล่อยเฉยจนเฉื่อยชา ปฏิบัติตนให้พอดีสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้นิพพาน เป็นความสุขที่คนในสังคมอินเดียโบราณต่างมุ่งแสวงหา เพราะถือว่าเป็นความสุขสงบที่เป็นอมตะ ไม่ผันแปร ในการแสวงหานั้น มีหลักความเชื่ออยู่ 2 อย่างคือ ความเชื่อที่ว่า การจะบรรลุนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก จะเห็นได้จากการมีนักบวชอินเดียมากมายที่ทรมานตน เช่น การฝังตัวอยู่ในดิน การนั่งบนตะปูที่แหลมคม การทำโยคะในท่าต่าง ๆ เป็นต้น อีกทางหนึ่งคือ การมีความเชื่อว่าการจะบรรลุนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ก็ได้แสวงหาสะสม และหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุข แล้วในที่สุดผู้ที่มีความเชื่อทั้งสอง ก็ไม่บรรลุนิพพาน เพราะฝ่ายแรกตึงเกินไป และฝ่ายหลังหย่อนยานเกินไป ไม่เป็นไปตามทางสายกลางดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้
ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงอริยสัจ 4 คือ หลักความจริงของชีวิตที่เมื่อรู้แล้วจะทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ ทุกข์ (ความเกิด ความแก่
และความตาย เป็นต้น) สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความอยาก (ตัณหา) ต่าง ๆ) นิโรธ (ความดับทุกข์ คือนิพพาน) และมรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ทางสายกลางหรือมรรคมีองค์ 8)
“วันอาสาฬหบูชา”การบวช แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือเป็นการบวชที่พระพุทธเจ้าประทานแก่ผู้ทูลขอบวชด้วยพระองค์เองเป็นการอนุญาตให้มาเป็นภิกษุโดยการตรัสด้วยพระวาจา แต่จะมี 2 แบบคือ หากเป็นบุคคลธรรมดาขอบวช พระองค์ทรงตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” สำหรับแบบที่สอง เป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้แก่บุคคลผู้บรรลุธรรมพิเศษ สามารถกำจัดกิเลสได้แล้ว เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะ พระองค์ทรงตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” จะพบว่า พระองค์ทรงตัดข้อความตอนสุดท้ายออก คือ “เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสตัณหาได้แล้ว จะไม่มีความทุกข์โดยสิ้นเชิงธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีใจความสรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไม่ให้บรรพชิต ประพฤติสุดโต่ง 2 อย่างคือ
1. กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข ซึ่งเป็นทางที่ไม่บริสุทธิ์ ไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้
2. อัตติลมถานุโยค คือ การทรมานร่างกายตัวเองอย่างลำบาก ซึ่งเป็นทางที่ไม่สามารถพ้นทุกข์ไปได้ ดังเช่นพระพุทธองค์ได้ทรง
บำเพ็ญทุกรกิริยา ไม่สามารถค้นพบความจริงได้หนทางที่ที่จะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ได้แก่ การดำเนินการตามทางสายกลาง คือ “มัชฌิมปฏิปทา” หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุนิพพานไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ซึ่งประกอบด้วย ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งใจมั่นชอบ เป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด การปฏิบัติตามทางสายกลางในวิถีชีวิตของชุมชน ก็เริ่มจากทำความเข้าใจความสำเร็จให้ชัดเจนว่าคืออะไร มีขอบเขตแค่ไหน แล้วคิดหาทางไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร เมื่อพบทางแล้ว ก็ประคับประคองความคิดนั้นให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะที่ไม่เคร่งเครียดจนกร้าว และปล่อยเฉยจนเฉื่อยชา ปฏิบัติตนให้พอดีสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้นิพพาน เป็นความสุขที่คนในสังคมอินเดียโบราณต่างมุ่งแสวงหา เพราะถือว่าเป็นความสุขสงบที่เป็นอมตะ ไม่ผันแปร ในการแสวงหานั้น มีหลักความเชื่ออยู่ 2 อย่างคือ ความเชื่อที่ว่า การจะบรรลุนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก จะเห็นได้จากการมีนักบวชอินเดียมากมายที่ทรมานตน เช่น การฝังตัวอยู่ในดิน การนั่งบนตะปูที่แหลมคม การทำโยคะในท่าต่าง ๆ เป็นต้น อีกทางหนึ่งคือ การมีความเชื่อว่าการจะบรรลุนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ก็ได้แสวงหาสะสม และหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุข แล้วในที่สุดผู้ที่มีความเชื่อทั้งสอง ก็ไม่บรรลุนิพพาน เพราะฝ่ายแรกตึงเกินไป และฝ่ายหลังหย่อนยานเกินไป ไม่เป็นไปตามทางสายกลางดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้
ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงอริยสัจ 4 คือ หลักความจริงของชีวิตที่เมื่อรู้แล้วจะทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ ทุกข์ (ความเกิด ความแก่
และความตาย เป็นต้น) สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ความอยาก (ตัณหา) ต่าง ๆ) นิโรธ (ความดับทุกข์ คือนิพพาน) และมรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ทางสายกลางหรือมรรคมีองค์ 8)
สรุปและวิเคราะห์โอวาทปาฏิโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ณ วัดเวฬุวัน
เมืองราชคฤห์ ในที่ประชุมสงฆ์ 1,250 รูป ตรงกับ
“วันมาฆบูชา” การแสดงโอวาทปาติโมกข์นี้ ถือว่า เป็นการประกาศหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ดังนี้คือหลักการ 3 ได้แก่
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่ การงดเว้น การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 คือทางแห่งความชั่วมีสิบ
ประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
1.1 ความชั่วทางกาย 3 ประการ ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
1.2 ความชั่วทางวาจา 4 ประการ ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ
1.3 ความชั่วทางใจ 3 ประการ ได้แก่ การอยากได้ของผู้อื่น การพยาบาท และความเห็นผิดเป็นชอบ
2. กาทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง ซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 คือ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีสิบประการ อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
2.1 ความดีทางกาย คือการไม่ประพฤติชั่วทางกาย 3 ประการ มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความซื่อสัตย์ต่อกัน
2.2 ความดีทางวาจา คือ การไม่ประพฤติชั่วทางวาจา 4 ประการ พูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำที่ก่อให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
2.3 ความดีทางใจ คือ การไม่พฤติชั่วทางใจ 3 ประการ มีแต่คิดเสียสละ มีเมตตาและปราถนาดี และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจาก”นิวรณ์”ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิต ไม่ให้เข้าถึงความสงบได้ มี 5 ประการได้แก่
3.1 กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม
3.2 พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท
3.3 ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน
3.4 อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
3.5 วิจกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่ เป็นต้น
วิธีทำให้จิตผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวงด้วยการถือศีลและบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริงอุดมการณ์ 4 ได้แก่
1. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา และใจ
2. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย การรบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น
3. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 วิธีการ 6 ได้แก่
1. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
2. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนทำร้ายใคร
3. สำรวมในปาฏิโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
4. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร การใช้จ่ายทรัพย์สินหรือใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
5. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เหมาะสม ไม่อยู่ในสถานที่เสื่อมโทรม
6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิต ให้สงบมีสุขภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี
“วันมาฆบูชา” การแสดงโอวาทปาติโมกข์นี้ ถือว่า เป็นการประกาศหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา ดังนี้คือหลักการ 3 ได้แก่
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่ การงดเว้น การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 คือทางแห่งความชั่วมีสิบ
ประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
1.1 ความชั่วทางกาย 3 ประการ ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
1.2 ความชั่วทางวาจา 4 ประการ ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ
1.3 ความชั่วทางใจ 3 ประการ ได้แก่ การอยากได้ของผู้อื่น การพยาบาท และความเห็นผิดเป็นชอบ
2. กาทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง ซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 คือ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีสิบประการ อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังนี้
2.1 ความดีทางกาย คือการไม่ประพฤติชั่วทางกาย 3 ประการ มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความซื่อสัตย์ต่อกัน
2.2 ความดีทางวาจา คือ การไม่ประพฤติชั่วทางวาจา 4 ประการ พูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำที่ก่อให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
2.3 ความดีทางใจ คือ การไม่พฤติชั่วทางใจ 3 ประการ มีแต่คิดเสียสละ มีเมตตาและปราถนาดี และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจาก”นิวรณ์”ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิต ไม่ให้เข้าถึงความสงบได้ มี 5 ประการได้แก่
3.1 กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม
3.2 พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท
3.3 ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน
3.4 อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
3.5 วิจกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่ เป็นต้น
วิธีทำให้จิตผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวงด้วยการถือศีลและบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อมด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริงอุดมการณ์ 4 ได้แก่
1. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา และใจ
2. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย การรบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น
3. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
4. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 วิธีการ 6 ได้แก่
1. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
2. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนทำร้ายใคร
3. สำรวมในปาฏิโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม
4. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร การใช้จ่ายทรัพย์สินหรือใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
5. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่ดีที่เหมาะสม ไม่อยู่ในสถานที่เสื่อมโทรม
6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิต ให้สงบมีสุขภาพ คุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น