การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา by Sirijanya Janthasri on Prezi

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย

       พระพุทธศาสนาซึ่งได้อุบัติขึ้นในชมพูทวีป เมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้วได้เริ่มหลายไปสู่ดินแดนต่าง ๆ นับ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา แม้ว่าผู้นับถือพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชียแต่ปัจจุบันได้ หลายไปทั่วโลก ซึ่งพิสูจน์ให้สังคมทั่วโลกได้รู้ว่าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมีเหตุมีผล

ประเทศจีน   พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในประเทศจีน เมื่อประมาณพุทธศักราช 608 ในสมัยพระจักรพรรดิเม่งเต้ แห่งราชวงศ์ฮั่น พระองค์ได้จัดส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย พระสงฆ์จีนที่เดินทางไปสืบศาสนาที่อินเดียแล้วกลับมาปรับปรุงฟื้นฟูศาสนาในจีนที่มีชื่อเสียงคือ พระถังซัมจั๋ง
   ใน พ.ศ.2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนในพระพุทธศาสนา แต่สนับสนุนแนวความคิดของลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งลัทธิดังกล่าวได้โจมตีพระพุทธศาสนาตลอดมา และมีการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนามากขึ้น โดยเอาวัดไปใช้ในสถานที่ราชการอื่น ๆ สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาจึงยังไม่ดีขึ้น ใน พ.ศ. 2465 พระสงฆ์จีนรูปหนึ่งชื่อว่า พระอาจารย์ไท้สู ได้ช่วยกู้ฐานะของพระพุทธศาสนาไว้บางส่วนคือ ท่านได้ทำการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เริ่มด้วยการตั้งวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นที่ วูซัน เอ้หมึง เสฉวน และหลิ่งนาน เพื่อฝึกผู้นำทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ทางพระธรรมวินัยและวิชาการทางโลกสมัยใหม่ แล้วนำมาเผยแผ่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ความพยายามของพระอาจารย์ไท้สู ทำให้ประชาชนและรัฐบาลเข้าใจในพระพุทธศาสนาดีขึ้น ทางราชการได้ออกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์สินของวัดห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
  
   อ้างอิง : https://panyadham.wordpress.com/2016/08/24/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
 ต่อมาเมื่อผู้นำการปกครองจีนคือ เหมา เจ๋อ ตุง ได้ถึงแก่อสัญกรรม ใน พ.ศ. 2519 รัฐบาลชุดใหม่ของจีนคลายความเข้มงวดลงบ้างให้เสรีภาพการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น ในปัจจุบัน มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่งด้วย เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการนับถือลัทธิขงจื๊อ และลัทธิเต๋า

ประเทศเกาหลี
พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลีเมื่อ พ.ศ. 915 โดยสมณทูตซุนเตา เดินทางจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรโคกูรยอ คือ ประเทศเกาหลีในปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้ขยายเข้ามาในเกาหลีอย่างรวดเร็ว เพียงระยะเวลา 20 ปี ก็มีการสร้างวัดขึ้นมากมาย เฉพาะเมืองหลวงแห่งเดียว 9 วัด ประเทศเกาหลีในสมัยก่อนนั้นประกอบด้วย 3 อาณาจักรคือ โคกูรยอ แพ็กเจ และชิลลา แต่ผู้นำทั้ง 3 อาณาจักรก็นับถือพระพุทธศาสนา และให้การสนับสนุนกิจการต่าง ๆ อันที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเสมอ และที่สำคัญได้ทรงถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ส่งเสริม และให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน พร้อมทั้งสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา

พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลีในปัจจุบัน

 พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลีเหนือนั้นไม่สามารถที่จะรู้สถานการณ์ได้ เพราะประเทศเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่สนับสนุนพระพุทธศาสนา ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศเกาหลีใต้มากกว่า แต่ในประเทศเกาหลีใต้มีการขัดแย้งระหว่างนิกายโชเก (นิกายถือพรหมจรรย์) และนิกายแทโก (นิกายไม่ถือพรหมจรรย์) แก่งแย่งวัดกัน ในช่วงนั้นกลุ่มมิชชันนารีจำนวนมากได้มาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในช่วงแรกมีแต่กลุ่มวัยรุ่น แต่ภายหลัง ไม่ว่าวัยรุ่นหรือวัยไหน ๆ ก็หันมานับถือศาสนาคริสต์กันขนานใหญ่ ศาสนาพุทธจึงตกต่ำลง จน นิกายโชกายต้องหาวิธีให้ชาวเกาหลีมองเห็นว่าพระพุทธศาสนามีความสำคัญก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ชาวเกาหลี มีทัศนคติที่ดี แก่พระพุทธศาสนา เนื่องจากพระสงฆ์มีการติดต่อกับชาวบ้านน้อยมาก ในการตีพิมพ์คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องยืมคำของศาสนาคริสต์ คือ ไบเบิลของพระพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันเริ่มมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาบ้างแล้ว

เหล่าพระสงฆ์ขณะเดินกลับกุฏิ ณ วัดแฮอินซา

ในปัจจุบันคณะสงฆ์ในประเทศเกาหลี ถือว่าเป็นคณะสงฆ์ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนานั่นเอง กิจการที่พระสงฆ์เกาหลีใต้สนใจ และทำกันอย่างเข้มแข็งจริงจังที่สุดคือ การศึกษา ซึ่งเรื่องนี้เป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในด้านการศึกษานอกจากจะมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับสอนพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร และสามเณรี (สตรีที่จะบวชเป็นภิกษุณี) แล้ว คณะสงฆ์เกาหลีใต้ยังมีสถานศึกษาฝ่ายสามัญระดับต่าง ๆ ที่เปิดรับนักเรียนชายหญิงโดยทั่วไปด้วย ซึ่งสถาบันเหล่านี้มีคฤหัสถ์ (บุคคลทั่วไป) เป็นผู้บริหาร แต่อยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมาธิการฝ่ายการศึกษาของคณะสงฆ์ สถานศึกษาเหล่านี้แยกประเภทได้ดังนี้

  • มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย 3 แห่ง
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 11 แห่ง
  • โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 16 แห่ง
  • โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
  • โรงเรียนอนุบาล 7 แห่ง

มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลีคือ มหาวิทยาลัยทงกุก ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 ปัจจุบันมีนักศึกษาชายทั้งหมด 6,000 คน มีภิกษุสามเณรศึกษาอยู่ด้วยประมาณ 60 รูป ใน พ.ศ. 2507 คณะสงฆ์เกาหลีใต้ตั้งโครงการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับเกาหลีขึ้น เรียกว่า ศูนย์แปลพระไตรปิฎกเกาหลี ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยทงกุก ในประเทศเกาหลีใต้ (พ.ศ. 2526) มีวัดลงทะเบียนจำนวน 3,163 วัด และไม่ลงทะเบียน 4,090 วัด มีภิกษุ 14,206 รูป และภิกษุณีจำนวน 6,549 รูป จำนวนนี้อาจรวมนิกายโชกาย และนิกายเล็กต่าง ๆ


ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/
ประเทศญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านทางเกาหลีในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ว่า ในรัชกาลพระเจ้ากิมเมจิจักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่นโดยพระเจ้าเซมาโว แห่งเกาหลีส่งราชทูตไปยังราชสำนักพระเจ้ากิมเมจิพร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้พระเจ้ากิมเมจิรับนับถือพระพุทธศาสนา ทรงรับด้วยความพอพระทัยทั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น แต่ภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วพระจักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้ใส่พระทัยในพระพุทธศาสนาเสื่อมลง จนถึงสมัยของจักรพรรดินีซุยโก ได้ทรงสถาปนาเจ้าชายโชโตกุเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พ.ศ. 1135 เจ้าชายพระองค์นี้ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาจึงได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมั่นคงในญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นต่างแข่งขันกันสร้างวัดในพระพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก ยุคสมัยนี้ได้ชื่อว่ายุคโฮโก คือยุคที่สัทธรรมไพโรจน์ เจ้าชายโชโตกุได้ทรงประกาศธรรมนูญ 17 มาตรา ประกาศหลักสามัคคีธรรมของสังคม ด้วยการเคารพเชื่อถือพระรัตนตรัย เจ้าชายโกโตกุสิ้นพระชนม์ลง หลังจากนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายนิกาย พระพุทธศาสนาก็ยิ่งเสื่อมลง เพราะนโยบายการปกครองประเทศบีบบังคับทางอ้อมจนถึงยุคเมอิจิ ลัทธิชินโตได้รับความนิยมนับถือแทนพระพุทธศาสนา ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่ไปกับศาสนาชินโต พระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ นิกายเทนได (เทียนไท้) นิกายชินงอน นิกายโจโด (สุขาวดี) นิกายเซน (ชยาน หรือ ฌาน) นิกายนิชิเรน


ประเทศเนปาล พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเนปาลทางประเทศอินเดีย แต่เดิมนั้นประเทศเนปาลเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าคือสวนลุมพินีอยู่ในเขตประเทศเนปาลปัจจุบันในสมัยพุทธกาลภาย หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์ไปเผยแผ่พระศาสนาในบริเวณนั้น

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างวัดและเจดีย์หลายแห่งซึ่งคงปรากฏอยู่ที่นครกาฐมาณฑุในปัจจุบันต่อมาในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหาร และเบงกอล ในประเทศอินเดีย พระภิกษุจากอินเดียต้องหลบหนีภัยเข้าไปอาศัยอยู่ในเนปาล ซึ่งพระภิกษุเหล่านั้นได้นำคัมภีร์อันมีค่าไปด้วยและมีการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีจนถึงทุกวันนี้ และเมื่อมหาวิทยาลัยนาลันทา(อินเดีย) ถูกทำลายทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสูญไปจากอินเดีย ส่งผลให้พระ พุทธศาสนาในเนปาลเสื่อมลงด้วย คุณลักษณะพิเศษที่เป็นเครื่องหมายประจำพระพุทธศาสนา เช่น ชีวิตพระสงฆ์ในวัด การต่อต้านการถือวรรณะ การปลดเปลื้องความเชื่อถือไสยศาสตร์ต่าง ๆ เป็นต้น ก็เลือนหายไป

ใครทำให้พระพุทธศาสนาหายไปจากเนปาลพระพุทธศาสนาในเนปาลยุคแรกเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือแบบเถรวาท ต่อมาเถรวาทเสื่อมสูญไปเนปาลกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระซึ่งใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์ นอกจากนี้มีนิกายพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ ๆ เกิดขึ้นอีก 4 นิกาย คือ สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ แต่ละนิกายก็ยังแยกเป็นสาขา

 
พระพุทธศาสนาเนปาลในปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทขึ้น โดยส่งภิกษุสามเณรไปศึกษาในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เช่น ไทย พม่า ศรีลังกา โดยเฉพาะในประเทศไทย ภิกษุสามเณรชาวเนปาล ได้บรรพชาและอุปสมบทแบบเถรวาทได้มาศึกษาปริยัติธรรม และศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย นอกจากนี้คณะสงฆ์เนปาลได้กราบทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระญาณสังวร(สมเด็จพระสังฆราช) ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวเนปาล ณ กรุงกาฐมาณฑุ พร้อมทั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดชาวเนปาล
การเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปประเทศต่างๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หน่วยที่ 5 วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ใบงาน แบบทดสอบหลังเรียน