พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียง
คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" หมายถึง
เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้
เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิหรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด
เป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงดำริขึ้น
เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจให้กับสังคมไทยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ
" การพึ่งตนเองได้"
เศรษฐกิจพอเพียงเน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งสอดคล้องกับ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลายประการ ดังนี้
1. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)
2. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)
3. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)
4. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)
5. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)
6. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ)
เศรษฐกิจพอเพียงเน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ให้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งสอดคล้องกับ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลายประการ ดังนี้
1. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)
2. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)
3. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)
4. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)
5. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)
6. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ)
กล่าวโดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธ ศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ ที่มุ่งให้มนุษย์จำกัดความอยาก หรือความต้องการของตนเอง แทนการกระตุ้นความอยากที่ทำให้เกิดการบริโภคมากขึ้น(บริโภคนิยม) เนื่องจากพระพุทธ ศาสนาเห็นว่าความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ทรัพยากรมีจำกัด การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องหันมาแก้ไขที่ตนเองก่อน จำกัดความอยาก ความต้องการ ให้รู้จักพอดี ไม่บริโภคเกินความพอดี หรือตกเป็นทาสของวัตถุ จะพบความสุขใจได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการลดการแก่งแย่งแข่งขัน การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การเบียดเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น ตลอดถึงการเบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน “ทางสายกลาง”โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ “ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบ คอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง มีจิตใจพอเพียง มีวิริยะ(ความเพียร) พอเพียง มีปัญญาพอเพียง มีวัฒนธรรมพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมที่พอเพียง และมีความเอื้ออาทรต่อกันพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจที่บูรณาการ ต้องเป็นไปเพื่อ “ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนแข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน”
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน “ทางสายกลาง”โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ “ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบ คอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง มีจิตใจพอเพียง มีวิริยะ(ความเพียร) พอเพียง มีปัญญาพอเพียง มีวัฒนธรรมพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมที่พอเพียง และมีความเอื้ออาทรต่อกันพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจที่บูรณาการ ต้องเป็นไปเพื่อ “ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนแข้มแข็ง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน”
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงและเกณฑ์คุณค่า ๓ ประการคือ
ประการแรก สำนึกความเป็นชุมชนและสังคมหนึ่ง หมายความว่า ประเทศชาติมีคุณค่าและความหมายเป็นหน่วยชีวิตที่คงอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และสันติสุขของมวลมนุษย์ตั้งแต่ระดับครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และระดับโลก เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม ไม่ใช่ควบคุมกลไกทั้งหมดของสังคม
ประการที่สอง ความประสานกลมกลืนของเสรีภาพกับความเป็นธรรมทางสังคม หมายความว่า จะต้องประสานหลักเสรีภาพและประสิทธิภาพ กลไกเศรษฐกิจที่ว่านี้ สอดคล้องต่อเกณฑ์คุณค่าและการดำรงอยู่ของชีวิต สังคม ที่เป็นอิสระเสรีมีเสถียรภาพและเป็นธรรม
ประการที่สาม คุณค่าศักยภาพพัฒนาตนเองของคนเรา หมายความว่า เราจะไม่ยึด “ระบบ” มากเกินไป แต่ยึดถือคนกับคุณค่าชีวิตและสังคมเป็นที่พึ่งมากกว่าการพึ่งพิงระบบเศรษฐกิจ
หลักการทั้งสามนี้ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประกอบเป็นวิถีชีวิตอันเที่ยงธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกว่า “วิถีแห่งธรรม”นั่นคือการเสริมสร้างปลูกฝัง วัฒนธรรม และวิถีการเรียนรู้ที่ “รู้จักพอ” ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
หลักธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้
๑. สัปปุริสธรรม ๗ ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี
๑.๑ ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
๑.๒ อัตถัญญุตา = รู้จักผล
ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นต้น
๑.๓ อัตตัญญุตา = รู้จักตน
ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
๑.๔ มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
๑.๕ กาลัญญุตา = รู้จักกาล
ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
๑.๖ ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
๑.๗ ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มี คุณธรรม เป็นต้น และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ อย่างไร ควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงและเกณฑ์คุณค่า ๓ ประการคือ
ประการแรก สำนึกความเป็นชุมชนและสังคมหนึ่ง หมายความว่า ประเทศชาติมีคุณค่าและความหมายเป็นหน่วยชีวิตที่คงอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และสันติสุขของมวลมนุษย์ตั้งแต่ระดับครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และระดับโลก เศรษฐกิจเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม ไม่ใช่ควบคุมกลไกทั้งหมดของสังคม
ประการที่สอง ความประสานกลมกลืนของเสรีภาพกับความเป็นธรรมทางสังคม หมายความว่า จะต้องประสานหลักเสรีภาพและประสิทธิภาพ กลไกเศรษฐกิจที่ว่านี้ สอดคล้องต่อเกณฑ์คุณค่าและการดำรงอยู่ของชีวิต สังคม ที่เป็นอิสระเสรีมีเสถียรภาพและเป็นธรรม
ประการที่สาม คุณค่าศักยภาพพัฒนาตนเองของคนเรา หมายความว่า เราจะไม่ยึด “ระบบ” มากเกินไป แต่ยึดถือคนกับคุณค่าชีวิตและสังคมเป็นที่พึ่งมากกว่าการพึ่งพิงระบบเศรษฐกิจ
หลักการทั้งสามนี้ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประกอบเป็นวิถีชีวิตอันเที่ยงธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกว่า “วิถีแห่งธรรม”นั่นคือการเสริมสร้างปลูกฝัง วัฒนธรรม และวิถีการเรียนรู้ที่ “รู้จักพอ” ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
หลักธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้
๑. สัปปุริสธรรม ๗ ธรรมของคนดี ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี
๑.๑ ธัมมัญญุตา = รู้จักเหตุ
ความรู้จักธรรม หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล อาทิ นักเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไร ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น เป็นต้น
๑.๒ อัตถัญญุตา = รู้จักผล
ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นต้น
๑.๓ อัตตัญญุตา = รู้จักตน
ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตัว เรานั้น ว่ามีสถานภาพเป็นอะไร ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น ว่าขณะนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
๑.๔ มัตตัญญุตา = รู้จักประมาณ
ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ นักเรียนรู้จักประมาณ กำลังของตนเองในการทำงาน รัฐบาลรู้จักประมาณการเก็บภาษีและการใช้งบประมาณในการบริหารประเทศ เป็นต้น
๑.๕ กาลัญญุตา = รู้จักกาล
ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
๑.๖ ปริสัญญุตา = รู้จักชุมชน
ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น
๑.๗ ปุคคลปโรปรัญญุตา = รู้จักบุคคล
ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า มีอัธยาศัย มีความสามารถ มี คุณธรรม เป็นต้น และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ อย่างไร ควรจะคบหรือไม่ จะใช้ จะตำหนิ หรือยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
๒. โภควิภาค ๔ เป็นวิธีการจัดการทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยการจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้
๒.๑ เอเกน โภเค ภญเชยย ส่วนแรก ๒๕% ใช้สำหรับเลี้ยงตนและคนที่ควรบำรุง
๒.๒ ทวีหิ กมม ปโยชเช ๕๐% สำหรับลงทุนประกอบกิจการงานอาชีพ เพื่อให้มีทรัพย์เพิ่มพูน
๒.๓ จตุตุถญจ นิธาเปยย ๒๕% ให้เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น
๓. โภคอาทิยะ ๕ หลักการใช้ทรัพย์เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง มีดังนี้
๓.๑ เลี้ยงตนเอง บิดามารดา บุตร ภรรยาและคนในปกครองให้มีความสุข
๓.๒ บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานให้มีความสุข
๓.๓ ใช้สำหรับป้องกันภยันตราย
๓.๔ ใช้ทำพลี ๕ อย่าง ได้แก่ ญาติพลี คือ สงเคราะห์ญาติ อติถีพลี คือ ต้อนรับแขก ปุพพเปตพลี คือ ทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษ ราชพลี คือ บำรุงราชการโดยการเสียภาษี และเทวดาพลี ถวายเทวดาหรือสักการะแก่สิ่งที่ควร
๓.๕ บำรุงสมณะ ใช้อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติชอบ
๔. กามโภคี หรือคนครองเรือน คือ การแยกประเภทคนครองเรือนตามลักษณะเด่นมี ๓ ประเภท ดังนี้
๔.๑ การแสวงหาทรัพย์ เป็นบุคคลผู้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ทารุณ
๔.๒ การใช้จ่ายทรัพย์ ครั้นแสวงหาทรัพย์ได้แล้ว ย่อมเลี้ยงตนให้เป็นสุข เกิดคุณประโยชน์
๔.๓ จิตใจเป็นอย่างไรเมื่อมีทรัพย์ และใช้ทรัพย์นั้น มีปัญญาในการบริโภคโภคทรัพย์นั้น
๕. สุขของคฤหัสถ์ หรือ คิหิสุข เป็นสุขของชาวบ้าน, สุขที่ชาวบ้านควรพยายามเข้าถึงให้ได้สม่ำเสมอ, สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี ๔ ประการ ดังนี้
๕.๑ อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม
๕.๒ โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์
๕.๓ อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร
๕.๔ อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
บรรดาสุข ๔ อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด
๖. อัตตาหิ อัตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นพุทธสุภาษิตที่มุ่งเน้นให้พึ่งตนเองในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ในการสร้างฐานะ และเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้
๗. ทิฏฐธัมมิกัตถ เป็น หลักธรรมในพุทธศาสนา คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง บ้างเรียกว่า หัวใจเศรษฐี "อุ อา กะ สะ" อาจเรียกเต็ม ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น เพื่อประโยชน์สุขสามัญที่คนทั่วไปปรารถนา มี ทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
๗.๑ อุฏฐานสัมปทา (อุ) ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่นขยันหมั่นเพียร เลี้ยงชีพด้วยการหมั่น
ประกอบการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้น ให้สามารถทำได้สำเร็จ
๗.๒ อารักขสัมปทา(อา) ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ (ที่หามาได้ด้วยความ
ขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม) รักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ไม่ให้ถูกลัก หรือทำลายไปโดยภัยต่างๆ
๗.๓ กัลยาณมิตตตา(กะ) คบคนดี ไม่คบคบชั่ว อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน
เจรจา สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
๗.๔ สมชีวิตา(สะ) อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยง
ชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก
๘. หลักสันโดษ เป็นความพอใจหรือยินดีในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
๙. การปฏิบัติตนในทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา ไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
ในทางพุทธศาสนาทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ แบบย่อคือ "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ความสอดคล้องระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ และเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ๑. ทั้งสองทฤษฏีมุ่งเน้นคุณภาพชีวิต และ คุณค่าของมนุษย์เป็นเบื้องต้น เพื่อปูทางไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นไปกล่าวคือ สวรรค์และพระนิพพานในที่สุด
๒. ทฤษฎีทั้งสองเน้นสัมมาเศรษฐกรรม คือ เป็นเศรษฐกิจเชิงจริยธรรมที่มีเป้าหมายในการผลิต การบริโภค การสร้างงาน เป็นต้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสังคม ชุมชน ระบบนิเวศ และชาวโลกโดยทั่วไปด้วย
๓. ทฤษฎี ทั้งสองนั้นเน้นความเป็นเศรษฐกิจแบบองค์รวม กล่าวคือ ทั้งสองเป็นระบบการพัฒนาชีวิตของปัจเจกบุคลควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีจริยธรรมคือความเมตตา ความเกื้อกูลสงเคราะห์ ความสามัคคี ความไม่เห็นแก่ตัว ดังคำกล่าวว่า มนุษย์อยู่ดี ชุมชนอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน
๔. ทฤษฎีทั้งสองเน้นคุณภาพชีวิตของสรรพสัตว์ ซึ่งหมายถึงมนุษย์และสัตว์ทั้งหมด
๕. ทฤษฏีทั้งสองเป็นระบบเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาที่มีสัมมาอาชีวะเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสามารถโยงไปสู่การที่พระพุทธศาสนามีท่าทีปฏิเสธความสุดโต่ง ๒ ด้าน
๖. ทฤษฎีทั้งสองไม่ได้เป็นเศรษฐกิจระบบปิด ( Close Economy ) ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคที่ไร้ขอบเขตจนเกิดการทำลายธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เกิดพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ
โดยสรุป เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เป็นฐานของเศรษฐกิจพอพอเพียง เป็นเศรษฐศาสตร์เป็นภาคทฤษฎีหรือหลักการ ส่วนเศรษฐกิพอเพียงเป็นภาคปฏิบัติของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจะต้องดำเนินต่อไปด้วยกันเสมอ เพื่อนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น